แนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา GUIDELINE FOR VOLUNTEER NETWORK FORMATION FOR SOCIAL DEVELOPMENT AND HUMAN SECURITY IN NON DAENG DISTRICT, NAKHON RATCHASIMA PROVINCE

รัตนา เจริญรัมย์, อนุจิตร ชิณสาร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในอำเภอโนนแดง         จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์    (อพม.) ในอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 40 คน โดยการสัมภาษณ์กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาด้านบุคลากร พบว่า ปัญหาด้านศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งต้องรับผิดชอบงานหลายด้านหลายหน่วยงานทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดสรรเวลา          2) ปัญหาด้านการบริหารงาน พบว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานใกล้เคียงในการทํางานตามภารกิจต่าง ๆ 3) ปัญหาด้านสวัสดิการ พบว่า มีข้อจำกัดในการคัดสรรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ จึงต้องเกิดจากจิตอาสาโดยแท้และการดำเนินการของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ก็เน้นการทำงานกันเป็นทีม 4) ปัญหาด้านเครือข่าย พบว่า การสร้างเครือข่าย จำเป็นที่ต้องอาศัยการมีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่งบประมาณของแผ่นดินที่ได้รับการจัดสรร 5) แนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่อำเภอโนนแดง คือ ควรมีการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การสร้างแกนนำ การมีส่วนร่วมของสมาชิก การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดกิจกรรม การหนุนเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


journal of faculty of arts and science, Rajabhat Chaiyaphum University.