ครอบครัวรักษาศีล 5 : รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำรงชีวิต ของครอบครัวไทยในจังหวัดอุบลราชธานี FIVE PRECEPTS – OBSERVING FAMILY : A MODEL AND PROMOTION OF THAI FAMILY’S LIVING IN UBONRATCHATHANI PROVINCE.

พูลศักดิ์ หอมสมบัติ, พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวัฒฺฑโน, พระครูศรี ปริยัติยาภิวัฒน์, พระครูโกศล วิหารคุณ, ธรสิทธิ์ ฉัตรสุวรรณ

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาแนวคิดเรื่องเบญจศีลที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาครอบครัวรักษาศีล 5: รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของครอบครัวไทย และ 3) ศึกษาครอบครัวรักษาศีล 5: รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของครอบครัวในจังหวัดอุบลราชธานี ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ กล่าวคือ ความเห็นเจ้าอาวาส ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน และครอบครัวพุทธศาสนิกชน จำนวน 25 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า หลักเบญจศีล คือ การรักษากายและวาจาให้มีความเป็นปกติมี 5 อย่าง               คือ 1) การห้ามฆ่าสัตว์ 2) ห้ามลักทรัพย์ 3) การห้ามประพฤติผิดในกาม 4) การห้ามพูดปด และ 5) การห้ามดื่มสุรา เมรัย และของมึนเมาทุกชนิด โดยมีหลักธรรมที่ส่งเสริมการรักษาศีลจำนวน 5 อย่าง คือ 1) หลักเบญจธรรม 2) หลักวิรัติ 3) หลักขันติโสรัจจะ 4) หลักสติสัมปชัญญะ และ 5) หลักปัญญา การรักษาศีลเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ส่วนการไม่รักษาศีลเป็นโทษต่อตนเองและสังคม โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 : ชาวประชาเป็นสุขมีหน่วยงานขับเคลื่อนของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 มี 3 หน่วยงาน คือ 1) วัด/พระสงฆ์                2) บ้าน/ชุมชน และ 3 สถานศึกษา/หน่วยงานอื่น ๆ มีวัตถุประสงค์คือทำให้พุทธศาสนิกชนตระหนักถึงคุณสมบัติ และความสำคัญและหน้าที่ความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดจนประโยชน์ของการรักษาศีล 5 รูปแบบและกิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตด้วยการรักษาศีล 5 ของครอบครัวไทยในจังหวัดอุบลราชธานีมี 6 อย่าง คือ 1) การมีศรัทธา 2) ความเป็นกัลยาณมิตร 3) ความมีปัญญา 4) การให้ทาน 5) การฟังธรรม        และ 6) การปฏิบัติธรรม โดยการรักษาศีลมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิต

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


journal of faculty of arts and science, Rajabhat Chaiyaphum University.