การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น(7E)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND SCIENCE PROBLEM SOLVING ABILITY ENTITLED FORCE AND MATERIAL ELEMENT MOTIONBY USING LEARNING 7E LEARNING CYCLE ACTIVITIES FOR MATTHAYOMSUEKSA 3 STUDENTS.

พรทิพย์ เจริญใจ , ชวนพิศ รักษาพวก

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้7 ขั้น (7E) เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ 3)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือวิจัย คือ1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)2) แบบทดสอบวัดผลสมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.55-0.74 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.34-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นแบบทดสอบอัตนัย มีค่าอำนาจจำแนก (t) อยู่ระหว่าง 2.71-3.25 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน t-test ผลการวิจัยพบว่า1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ82.33/81.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


journal of faculty of arts and science, Rajabhat Chaiyaphum University.